วันนี้ SSP จะมาเล่าของดีจากเกาะลิบงให้ฟังกันค่ะ

   4 ธ.ค. 66  /   323

สวัสดีเรา "ตอหยอย" มาจากเกาะลิบง จ.ตรัง จ้าา

วันนี้ SSP จะมาเล่าของดีจากเกาะลิบงให้ฟังกันค่ะ

.

ตอหยอยเป็นชื่อพืชชนิดหนึ่ง กินได้ หากได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรกเชื่อว่าทุกคนคงฉงนสงสัย

ตอหยอย ตออะไร คืออะไร ตอหรือต้น รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ทำไมถึงเรียกว่า #ตอหยอย

.

ไขข้อสงสัย ตอหยอย คืออะไร

ตอหยอยเป็นพืชหัว ใช้ทำแป้งที่ชื่อว่า #แป้งเท้ายายม่อม หลายคนคงร้องอ๋อ

ถูกต้องแล้ว ตอหยอยก็คือเท้ายายม่อม ตอหยอยหรือต้นเท้ายายม่อม นั่นเอง

ตอหยอยหรือเท้ายายม่อมเป็นไม้ล้มลุก อายุยืนนานหลายปี มีเหง้าใต้ดินเป็นหัวกลมๆ แบนๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้างตามสภาพพื้นที่ เปลือกบาง ผิวเรียบ หัวอ่อนสีขาว พอแก่แล้วเป็นสีน้ำตาล เนื้อในมีสีขาว ฉ่ำน้ำเล็กน้อย หากมองดูผิวเผินเพียงรูปลักษณ์ภายนอกแล้วจะละม้ายคล้ายมันฝรั่งผลโตๆ หัวสดรับประทานไม่ได้เพราะรสขม เต็มไปด้วยยาง ชาวบ้านที่เกาะลิบงขุดหัวใต้ดินนำมาสกัดเป็นแป้งไว้ทำขนมและอาหารหลายอย่าง

สำหรับ “ตอหยอย” นั้นเป็นภาษาถิ่นที่คน #เกาะลิบง จังหวัดตรัง ด้วยเพราะว่าเมื่อถึงฤดูเก็บหัวตอหยอย ใบตอหยอยจะเหี่ยวแห้งและยุบตัวลงหรือเรียกว่าหยอยลงไป

เป็นที่มาของชื่อ “ตอหยอย”

.

ทำไมถึง เด่นเฉพาะไม่เหมือนใคร

ลักษณะเด่นของแป้งตอหยอย คือ “ #เหนียว #หนึบ #นุ่ม #ใส #ไม่คืนรูป”

คุณสมบัติของแป้งตอหยอย คือ มีความละเอียดมาก มีสีขาว ใสและคงรูปไม่เหลวแตกต่างจากแป้งชนิดอื่นจนสัมผัสและสังเกตุได้

ด้านสรรพคุณ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่นอารมณ์ดี ช่วยผู้ป่วยฟื้นไข้เร็วขึ้นทำให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร นักโภชนบำบัดสมัยใหม่ระบุว่า แป้งตอหยอยหรือแป้งเท้ายายม่อม มีคุณสมบัติที่เหมาะกับระบบทางเดินอาหารมากที่สุด

.

ทำยังไงถึงจะเจอ "หัวตอหยอย"

การขุดหัวตอหยอยต้องมีประสบการณ์.ให้ “สังเกตต้นที่เหี่ยวๆ แห้งๆ ขุดลงไปถ้าเจอหัวใหญ่หน่อย ขาวๆ หนักๆ แบบนั้นเอาได้ ถ้าขุดลงไปเจอหัวจิ๋วๆจะไม่เอาไปเพราะมันยังไม่โตเต็มที่ แล้วถ้าขุดเจอหัวสีน้ำตาลมีรากเต็มไปหมดแสดงว่ามันแก่แล้ว มันพร้อมจะงอกต่อ ก็จะฝังไว้ที่เดิมให้มันขยายพันธุ์ต่อไปอีก”

ตอหยอยเจริญเติบโตได้ดีใต้ร่มเงาของไม้ชนิดอื่นและชอบดินร่วนปนทราย โดยเฉพาะบริเวณป่าชายหาดหลายแห่งทั่ว #เกาะลิบง ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและหัว ต้นที่โตเต็มที่ออกดอกแล้วเหี่ยวแห้งไปจะมีเมล็ดเล็กๆ อยู่ที่กลีบดอก เมื่อร่วงหล่นก็เติบโตได้ต่อ ส่วนหัวเล็กๆ ที่แตกออกจากหัวใหญ่ก็เจริญเติบโตต่อไปได้ฤดูต่อฤดู

.

รู้อย่างนี้เเล้ว อย่าลืมเเวะไปชิมกันได้ที่เกาะลิบง เอารูปมาอวดแอดมินกันด้วยนะ ^^

.

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ SSIP TSU

- Facebook.com

: https://www.facebook.com/SSIPTSU

- Website : https://ssip.tsu.ac.th/

- Youtube : @SSIP_TSU

- TIKTOK : @ssiptsu

ติดต่อสอบถามได้ที่ : m.me/SSIPTSU

#SSIP #TSU #SSIPTSU #อุทยานวิทยาศาสตร์ #อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม